ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' อินทร, อินทร์ '

    อินทร, อินทร์  หมายถึง [อินทะ, อินทฺระ, อิน] น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • อินทร, อินทร์

    [อินทะ, อินทฺระ, อิน] น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).

  • อินทรธนู

    [อินทะนู] น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า); เครื่องประดับบ่าอย่างหนึ่งเพื่อแสดงยศเป็นต้น; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.

  • อินทรวงศ์

    [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่าฉันท์ที่มีสําเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คําวรรคหลังมี ๗ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่๒ รับสัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น(รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช).

  • อินทรวิเชียร

    [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่าฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาทเป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคําสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น(รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช),แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น(รูปภาพ สัมผัส)

  • อินทรศักดิ์

    [อินทฺระ] น. พระอินทราณี, ชายาพระอินทร์. (ส.).

  • อินทราณี

    น. ชายาพระอินทร์. (ส.).

  • อินทราภิเษก

    [อินทฺรา] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นําเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒.เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทําพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่งเมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอํานาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒